รู้หรือไม่ ? ไม่ต้องใช้งบมหาศาลก็สร้างสวัสดิการที่ดีให้พนักงานได้

แคนดิเดตหลายๆ คนในปัจจุบันอาจเข้าใจว่าบริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลางไม่สามารถมอบสวัสดิการด้าน Well-Being ให้พนักงานได้เทียบเท่ากับองค์กรขนาดใหญ่

แต่ในความเป็นจริงนั้น แม้บริษัทที่มี HR เพียงคนเดียวก็สามารถสร้างความแตกต่างและมอบสวัสดิการสุดเจ๋งให้กับพนักงานในองค์กรได้

ในยุคปัจจุบันที่เทรนด์โลกกำลังใส่ใจสุขภาพเป็นอย่างมาก หลายๆ บริษัทในประเทศไทยได้เริ่มลงทุนในสวัสดิการด้านสุขภาวะหลังการระบาดของโควิด-19 ในปี 2019 แต่อีกหลายๆ บริษัทอาจกำลังเพิ่งเริ่ม วันนี้ Workventure มีทริคดีๆ ที่จะมาบอกองค์กรคุณ

การให้สวัสดิการที่หรูหราอาจไม่ใช่วิธีเดียวที่จะยกระดับความเป็นอยู่ด้าน Well-Being ของพนักงาน โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่ยังมีทรัพยากรจำกัด ดังนั้น องค์กรส่วนใหญ่ควรมุ่งเน้นไปที่โปรแกรมในการช่วยพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของแต่ละบุคคลได้

1. นโยบายวันหยุด (PTO) ต้องมาก่อน

คุณเคยเป็นไหม พรุ่งนี้อยากหยุดแต่ถูกฉุดด้วยงานที่กองเต็มโต๊ะ หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อในด้าน Well-Being ของพนักงานคือ นโยบายวันหยุด (PTO – Paid Time Off) ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) หากองค์กรมีนโยบายวันหยุดที่ดีและเอื้อต่อการใช้งานได้จริง จะช่วยลดภาวะหมดไฟ (Burnout) และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้กับพนักงานได้

Elizabeth Buchanan ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าของ Rokt เน้นย้ำว่า “สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่แค่ให้วันหยุดมากเพียงใด แต่อยู่ที่เราทำให้แน่ใจว่าพนักงานได้ใช้วันหยุดจริงหรือไม่” เพราะในหลายๆ องค์กร แม้จะมีนโยบายลาหยุดที่ดี แต่พนักงานกลับไม่กล้าใช้สิทธิ์ เนื่องจากภาระงานที่มากเกินไป วัฒนธรรมองค์กรเอื้อต่อการใช้ หรือความกังวลเกี่ยวกับการประเมินผลการทำงาน เพื่อแก้ปัญหานี้ บริษัทต่าง ๆ ควรออกแบบนโยบายวันหยุดให้ใช้งานได้จริง และสนับสนุนให้พนักงานใช้สิทธิ์ที่มีอยู่

ตัวอย่างเช่น ที่ Rokt เคยใช้ระบบ Unlimited PTO ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานลาหยุดได้ไม่จำกัด แต่พบว่าพนักงานกลับลาหยุดน้อยลงแทน เพราะกลัวว่าจะถูกมองว่าไม่ทุ่มเทให้กับงาน ดังนั้น Rokt จึงเปลี่ยนแนวทาง โดยให้พนักงานที่ใช้วันหยุดอย่างเหมาะสมได้รับวันหยุดเพิ่มอีก 5 วัน หรือที่เรียกว่า "High Five Days" เพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานใช้สิทธิ์วันหยุดของตนเอง

นอกจากนี้ Buchanan ยังแนะนำให้บริษัทเลือกสวัสดิการที่ ยืดหยุ่นและปรับให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของพนักงาน เช่น โปรแกรมโค้ชสุขภาพจิต ที่พนักงานสามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ตามเวลาที่สะดวก ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถดูแลสุขภาพกายและใจได้อย่างต่อเนื่อง

แนวทางสร้างนโยบายวันหยุดที่มีประสิทธิภาพ:

  • กำหนดโควตาวันหยุดขั้นต่ำ – แทนที่จะใช้ Unlimited PTO ให้กำหนดจำนวนวันหยุดขั้นต่ำที่พนักงานต้องใช้ในแต่ละปี

  • ผู้จัดการต้องส่งเสริมการใช้วันหยุด – หัวหน้างานควรเป็นตัวอย่างในการใช้วันหยุด และกระตุ้นให้ทีมของตนหยุดพักผ่อนจริง ๆ

  • กำหนดให้มีวันหยุดองค์กร (Company-wide Breaks) – เช่น การปิดออฟฟิศช่วงเทศกาล เพื่อลดแรงกดดันจากงาน

  • เพิ่มสวัสดิการที่สนับสนุนการพักผ่อน – เช่น งบสนับสนุนกิจกรรมพักผ่อน หรือโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (EAP)

2. Manager ควรเป็นพาร์ทเนอร์ที่สนับสนุนพนักงาน

การเป็นโค้ชที่ดีจะมีค่ากับพนักงานมากกว่าการเป็นหัวหน้าที่คอยกดดัน ไม่กล้าตัดใจลา ถ้าหัวหน้ายังรองาน อาจเป็นสิ่งที่พนักงานในองค์ของคุณหลายๆ คนกำลังเผชิญอยู่ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก Manerger หรือหัวหน้างานโดยตรง หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานสามารถใช้สวัสดิการได้อย่างเต็มที่และเกิดประโยชน์สูงสุด คือการมีหัวหน้าที่เข้าใจและพร้อมให้คำแนะนำอยู่เสมอ

สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพนักงานให้ใช้สวัสดิการ

พนักงานบางคนอาจลังเลหรือไม่แน่ใจว่าจะใช้สิทธิประโยชน์ของบริษัทได้อย่างไร เช่น วันหยุดพักร้อน บริการสุขภาพจิต หรือการพัฒนาทักษะเพิ่มเติม นี่คือบทบาทสำคัญของผู้จัดการ ที่ควรช่วยอธิบายและส่งเสริมให้พนักงานใช้สิทธิ์ของตนโดยไม่ต้องรู้สึกผิดหรือคิดมากเกินไป

ตัวอย่างเช่น ที่ Rokt บริษัทที่ได้รับการยอมรับเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่ยอดเยี่ยม ผู้จัดการมีหน้าที่ช่วยพนักงานหาวิธีใช้ประโยชน์จากสวัสดิการให้เหมาะกับแต่ละบุคคล หากพนักงานต้องการความยืดหยุ่นด้านเวลาทำงาน ผู้จัดการควรช่วยวางแผน หากพนักงานต้องการบริการด้านสุขภาพจิต ควรเป็นผู้ให้ข้อมูลและแนะนำแหล่งทรัพยากร

ในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน หัวหน้าไม่ได้เป็นเพียงแค่คนที่คอยกำกับดูแลการทำงานเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็น โค้ชและที่ปรึกษา เพื่อช่วยให้พนักงานเติบโตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

3. สร้างความเป็นธรรม ความโปร่งใส และความไว้วางใจในองค์กร

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงและมีความสุขในที่ทำงานคือ ความเป็นธรรม ความโปร่งใส และความไว้วางใจ ซึ่งช่วยให้พนักงานมั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน และได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม

บริษัท Rokt เป็นตัวอย่างขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับหลักการนี้อย่างจริงจัง โดยมีแนวทางที่ชัดเจนผ่าน Career Ladder ที่โปร่งใส พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการเติบโตในองค์กรได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น

  • ทักษะที่จำเป็นสำหรับแต่ละตำแหน่ง

  • ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือเงินเดือน

  • ผลตอบแทนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สิ่งนี้ช่วยให้พนักงานเข้าใจว่าหากต้องการเติบโตในสายงาน พวกเขาควรพัฒนาทักษะด้านใด และต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งช่วยลดความคลุมเครือและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมุ่งมั่นพัฒนาตัวเอง

อีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญของ Rokt คือ การจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม พนักงานที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันจะได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นเพศใด เชื้อชาติอะไร หรือมีทักษะการต่อรองที่ดีแค่ไหน นโยบายนี้ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในองค์กร และสร้างความมั่นใจให้พนักงานว่าพวกเขาจะได้รับผลตอบแทนตามความสามารถและคุณค่าที่พวกเขาสร้างให้กับบริษัทจริง ๆ

ความโปร่งใสและความเป็นธรรมไม่ใช่แค่เรื่องของค่าตอบแทนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการพัฒนาและการเติบโตของพนักงานอีกด้วย องค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จะสามารถดึงดูดและรักษาคนเก่ ๆ ไว้ได้ในระยะยาว และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลายๆ องค์กรที่เชื่อว่าตนเองมีสวัสดิการด้าน Well-being สุดปัง อาจกำลังมองหาช่องทางสื่อสารให้ Talent หรือ Candidate เก่งๆ รู้จักกับองค์กร วันนี้ Workventure ผู้นำด้านการสร้าง Employer Branding พร้อมสนับสนุนองค์กรคุณด้วยโปรเจ็ค Best Places to Work ที่จะช่วยทำให้องค์กรคุณเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนหางานในประเทศไทย สนใจคลิกเลย


Previous
Previous

Work from Home ยังจำเป็นอยู่ไหม? ความท้าทายใหม่สำหรับ HR และองค์กรไทย

Next
Next

Payroll คืออะไร: ระบบที่ช่วยให้ HR จัดการเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ