ยกระดับ Performance Management สู่การขับเคลื่อนองค์กรในยุคปัจจุบัน

โลกของการทำงานปัจจุบันควรให้ความสำคัญกับ Performance Management สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนองค์กร

การบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้ทั้งองค์กรและพนักงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

ในยุคที่ธุรกิจองค์กรต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การบริหารประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ใช่แค่การประเมินผลเป็นช่วงเวลาเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงศักยภาพของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร การใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม เช่น การตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goals และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย สามารถทำให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น

Performance Management ที่ดีไม่ได้มุ่งเน้นแค่ผลลัพธ์สุดท้าย แต่ให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนา สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเติบโตไปพร้อมกับองค์กร


บริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างไร

ในมุมมองของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) การบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Management) ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การประเมินผลพนักงาน แต่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเพื่อพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในองค์กร

1. การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

  • ใช้หลัก SMART Goals (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) เพื่อให้พนักงานมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน

  • เชื่อมโยงเป้าหมายส่วนตัวของพนักงานเข้ากับเป้าหมายขององค์กรเพื่อสร้างแรงจูงใจ

2. การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ

  • HR ควรสนับสนุนให้ผู้นำพูดคุยกับทีมอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่รอการประเมินปลายปี

  • ใช้ Check-in Meeting เป็นประจำเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

3. การให้ Feedback อย่างต่อเนื่อง

  • Feedback ไม่ควรเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาที่ต้องการประเมินผลเท่านั้น แต่ควรเป็น Real-time Feedback เพื่อให้ทีมสามารถปรับปรุงได้ทันที

  • ใช้หลัก Feedforward (การให้คำแนะนำเชิงสร้างสรรค์สำหรับอนาคต) แทนการวิจารณ์ข้อผิดพลาดในอดีต

4. การพัฒนา Skill เพื่อการเรียนรู้

  • จัด Training & Development Program เพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงาน

  • ส่งเสริม Learning Culture ในองค์กร เช่น การให้พนักงานเรียนรู้ออนไลน์ หรือเข้าร่วมเวิร์กชอปต่างๆ

5. การส่งเสริม Work-Life Balance

  • สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพกายและใจของพนักงาน

  • สนับสนุน Flexible Work Arrangements เช่น การทำงานแบบ Hybrid หรือ Remote Work

  • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น โปรแกรมออกกำลังกาย การให้วันลาพิเศษ หรือกิจกรรมผ่อนคลาย

6. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อประสิทธิภาพ

  • ปลูกฝัง วัฒนธรรมของความเป็นเจ้าของ (Ownership Culture) ให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตัวเองและสามารถนำเสนอไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอ

  • ส่งเสริม Collaboration & Teamwork เพื่อให้พนักงานทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานในมุมมองของ HR เป็นมากกว่าการประเมินผล แต่เป็นการพัฒนาและสนับสนุนให้บุคคลากร สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ ผ่านการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การให้ Feedback อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะ และการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อความสำเร็จ เมื่อบุคคลากรมีแรงจูงใจและมีเป้าหมายที่ชัดเจน องค์กรก็จะเติบโตไปพร้อมกัน

กระบวนการและระบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงาน เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ และช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

✅ เตรียมความพร้อมทักษะของพนักงานสำหรับอนาคต

✅ เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

✅ เพิ่มอัตราการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น

✅ สร้างวัฒนธรรมของการให้ฟีดแบ็กและความไว้วางใจ

✅ ยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร


แนวคิดหลักในการบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงาน

  • Measuring Work Performance: ประเมินและวัดผลการทำงานของพนักงานย้อนหลังในระยะเวลาที่กำหนด มักเกี่ยวข้องกับการประเมินผลการทำงานแบบเดิมที่ทำปีละครั้ง

  •  Improving Work Efficiency: มองไปข้างหน้าและมุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต โดยการสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาจากจุดแข็งของตนเอง พร้อมกับการมองหาจุดที่มีโอกาสในการพัฒนา

  • Setting and Tracking Shared Goals: มีประสิทธิภาพการทำงานและต้องมีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน ช่วยให้เรามีความมุ่งมั่นต่อความคาดหวัง แต่ไม่ใช่ทุกเป้าหมายที่สร้างขึ้นมาจะมีคุณภาพเท่ากัน เป้าหมายที่มีประสิทธิภาพจะกระตุ้นให้พนักงานมีความรับผิดชอบ ต่อสิ่งที่ลงมือทำ และการมีส่วนร่วมกันในการสร้างผลงาน

  • SMART Goals: เป้าหมายที่เป็นกระบวนการ ที่ทำร่วมกัน เพื่อเสริมพลังให้พนักงานได้กำหนดความคาดหวังและเป้าหมายของตนเอง

“การบริหารผลการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการยอมรับจุดแข็งของพนักงานและเปิดรับแนวคิดนวัตกรรม แม้กระทั่งแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่”
— Steve Jobs
  • Accountability and Acceptance: ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง พร้อมรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของการทำงานอย่างจริงจัง การเปิดใจยอมรับทั้งความคิดเห็นเชิงบวก เพื่อการปรับปรุงจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญจะช่วยกระตุ้นทีมให้ทำงานให้ดีมากยิ่งๆขึ้นไป และสามารถรับรู้ถึงการทำงานอย่างหนักของพนักงานเองผ่านการเลื่อนตำแหน่ง การเพิ่มเงินเดือน โบนัส และโอกาสในการมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มเติม

  • Coaching and Providing Feedback for Development:โค้ชและการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ควรปฏิบัติด้วยความสร้างสรรค์และสร้างแรงจูงใจ เพื่อช่วยให้พนักงานมองเห็นจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาอย่างชัดเจน ควรเน้นการสื่อสารที่เปิดกว้าง ชัดเจน และเป็นไปในเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการเติบโตในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

  • Enhancing the Performance Evaluation Process: การปรับปรุงกระบวนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานควรเริ่มจากการกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนและเป็นธรรม ควรใช้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมและระบบติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความโปร่งใส และควรมีการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์เพื่อช่วยให้พนักงานพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การประเมินผลการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ แต่การบริหารประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องมีผลกระทบที่มากกว่า การเชื่อมโยงประสิทธิภาพกับการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กร การลงทุนในแพลตฟอร์มที่เน้นประสบการณ์พนักงานช่วยปรับปรุงกระบวนการบริหารและส่งเสริม Growth Mindset ในที่ทำงาน


    How does Trust & Performance relate?

    ในวิดีโอ “Simon Sinek - Trust vs Performance (Must Watch!)” ไซมอน ซิเน็ค ได้กล่าวถึงความสำคัญของความไว้วางใจ (Trust) และประสิทธิภาพการทำงาน (Performance) ในการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ เขาเน้นว่าหลายองค์กรให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการทำงานมากเกินไป โดยมองข้ามความไว้วางใจ ซึ่งอาจนำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นพิษ ไซมอนแนะนำว่าองค์กรควรให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในทีม เนื่องจากพนักงานที่มีความไว้วางใจสูงแม้ประสิทธิภาพการทำงานจะปานกลาง ก็สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและยั่งยืนได้ ในขณะที่พนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ขาดความไว้วางใจ อาจทำลายบรรยากาศการทำงานและลดความร่วมมือในทีม ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่างความไว้วางใจและประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาองค์กรที่แข็งแกร่งและประสบความสำเร็จ

Previous
Previous

ไขความลับองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

Next
Next

วิธีที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่สู่องค์กรด้วย Learning & Development